ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กรรฐ์, กรรฐา '

    กรรฐ์, กรรฐา  หมายถึง [กัน, กันถา] น. คอ. (เทียบ ข. กรฺฐ ว่า คอ). (เลือนมาจาก กัณฐ์).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กรรณ, กรรณ-

    [กัน, กันนะ-] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ.(ส. กรฺณ).

  • กรรณยุคล

    [กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คําหลวงมหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).

  • กรรณา

    [กัน-] (กลอน) ดู กรรณ, กรรณ-.

  • กรรณิกา

    [กัน-] (แบบ) น. ดอกไม้ เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ.(สมุทรโฆษ). (ส. กรฺณิกา ว่า ฝักบัว, ช่อฟ้า; ป. กณฺณิกา).

  • กรรณิการ์

    น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Nyctanthes arbortristis L. ในวงศ์Oleaceae ใบคาย ดอกหอม กลีบขาว หลอดดอกสีแสดใช้ย้อมผ้า, เขียนเป็น กณิการ์ หรือ กรณิการ์ ก็มี.

  • กรรดิ

    [กัด] ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี.(ยวนพ่าย). (เลือนมาจาก ป. กตฺถติ ว่า ยกย่อง, สรรเสริญ).

  • กรรดิก, กรรดึก

    [กัน-] (แบบ) น. เดือน ๑๒. (ดู กัตติกมาส).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒